Headlines News :
Home » » พี่น้องสองสาวตระกูล Pioneer กับภารกิจสำคัญ

พี่น้องสองสาวตระกูล Pioneer กับภารกิจสำคัญ

Written By Unknown on วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 | 01:20





ยานไพโอเนียร์ 10 ออกเดินทางจากโลกมนุษย์เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2515

โดยมีจรวด Atlas เป็นตัวผลักดันออกจากโลกด้วยความเร็ว 51,810 กม./ชม.



ซึ่งเป็นการทำสถิติความเร็วใหม่ของยานหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

ยานไพโอเนียร์ 10 ใช้เวลาเดินทางเพียง 11 ชม.ก็บินผ่านพระจันทร์มุ่งหน้าสู่ดาวอังคาร ซึ่งก็ใช้เวลาอีกประมาณ 4 เดือน ก็ผ่านวงโคจรดาวอังคารออกไป







15 กรกฎาคม 2515 ยานไพโอเนียร์ 10 ก็บินผ่านกลุ่มดาวพระเคราะห์น้อยไปได้อย่างปลอดภัย และนับเป็นยานอวกาศลำแรกที่ต้องบินผ่าน

กลุ่มดาวพระเคราะห์น้อยที่อันตรายนี้ จากนั้นจึงเร่งความเร็วขึ้นถึง 132,000 กม./ชม.มุ่งหน้าสู่ดาวพฤหัส



3 ธันวาคม 2516 ยานไพโอเนียร์ 10 บินเฉียดดาวพฤหัส ในระดับยอดเมฆ หรือที่ความสูงจากพื้นผิวดาวประมาณ 130,354 กม.

ถ่ายภาพผิวดาวส่งกลับบ้าน ทำให้เราได้ดูภาพระยะใกล้ของดาวพฤหัสเป็นครั้งแรก และรู้ว่าดาวพฤหัสนั้นเป็นดาวที่มีมวลเป็นของเหลว



ยานไพโอเนียร์ 10 เป็นยานลำแรกที่อาศัยแรงดึงดูดของดาวหนึ่งเหวี่ยงยานให้บินต่อไปยังดาวต่อไปเรื่อยๆ (คิดได้ไง)



ยานไพโอเนียร์ 10 ยังมีภารกิจศึกษาอะไรอีกหลายๆอย่างที่เป็นความรู้ให้เรา เช่น เรื่องพายุสุริยะ รังสีคอสมิก ฯลฯบริเวณส่วนนอกของจักรวาลเรา

ซึ่งภารกิจเหล่านี้ได้เสร็จสิ้นลงในวันที่ 31 มีนาคม 2540



ภารกิจสำคัญอีกอย่างหนึ่งของยานไพโอเนียร์ 10 ก็คือเป็นสารจากมนุษย์โลกส่งไปยังอีที หรือสิ่งมีชีวิตต่างดาว เพราะ

ยานไพโอเนียร์ 10 จะเดินทางต่อไปสู่นอกสุริยะจักรวาล สู่จักรวาลอันไกลโพ้น มีแผ่นภาพแกะสลักติดข้างยานสื่อให้ใครก็ตามที่มาพบได้รู้ว่า

รูปร่างหน้าตาของมนุษย์เป็นอย่างไร ตัวใหญ่ขนาดไหนเมื่อเทียบกับยาน และอาศัยอยู่ที่ดาวดวงไหนในสุริยะจักรวาล

และสุริยะจักรวาลอยู่ตรงไหนในกาแลกซี่ทางช้างเผือก ใครได้อ่านแล้วเกิดอยากมาหาเรา รับรองว่ามาถูกแน่ๆ











ยานไพโอเนียร์ 10 ติดต่อกลับมาครั้งสุดท้ายเมื่อ 27 เมษายน 2545 หลังจากนั้นนาซ่าก็พยายามติดต่อกับยานไพโอเนียร์ 10

ก็ได้เพียงสัญญานอ่อนๆ และได้สัญญานสุดท้ายเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2546 นับเป็นเวลาเกือบ 31 ปีที่มันบินขึ้นไปจากโลก



ส่วนยานไพโอเนียร์ 11 ซึ่งรูปร่างหน้าตาเหมือนกันเด๊ะ ถูกส่งขึ้นไปเมื่อ 5 เมษายน 2516 (ปีถัดมา)

โดยจรวด Atlas เป็นตัวผลักดันเหมือนกัน

บินผ่านกลุ่มดาวพระเคราะห์น้อยอย่างปลอดภัยเมื่อ 19 เมษายน 2517

ยานไพโอเนียร์ 11 บินเฉียดดาวพฤหัสเมื่อ 2 ธันวาคม 2517 ในระดับต่ำกว่าพี่สาวของมัน



คือมีระดับความสูงจากพื้นผิวดาวเพียง 43,000 กม.



ทำความเร็วถึง 173,000 กม./ชม. เร็วกว่าลูกปืนไรเฟิลถึง 55 เท่า

เร็วกว่าเครื่องบินคองคอร์ด 50 เท่า เร็วกว่ารถฟอร์มูล่าวันถึง 540 เท่า และเร็วกว่ารถผมถึง 1,450 เท่า



ยานไพโอเนียร์ 11 ถ่ายรูปจุดแดงใหญ่ของดาวพฤหัสส่งมาให้เราดูชัดๆเป็นครั้งแรก รวมทั้งคำนวณขนาดของดวงจันทร์บริวารให้เราด้วย



หลังจากนั้น ยานไพโอเนียร์ 11 ก็มุ่งหน้าไปสำรวจดาวเสาร์ซึ่งพี่สาวของมันไม่ได้แวะ มันบินผ่านดาวเสาร์ในระยะห่างประมาณ 20,800 กม.

ถ่ายภาพระยะใกล้ของดาวเสาร์และวงแหวนส่งมาให้เราดู ทำให้เราได้ความรู้ใหม่ๆเกี่ยวกับมันมากมาย

และยังค้นพบดางจันทร์บริวารของดาวเสาร์เพิ่มอีก 2 ดวง พบวงแหวนเพิ่มอีก 1 ชั้น

และยังให้ข้อมูลของดวงจันทร์ไตตันของดาวเสาร์ที่มีขนาดใหญ่พอๆกับดาวเคราะห์ที่มีคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจมีสิ่งมีชิวิตอยู่

ทำให้เรารู้ว่าดวงจันทร์ไตตันมีอุณหภูมิต่ำมากเกินกว่าที่สิ่งมีชีวิตจะอยู่ได้



เสร็จจากภารกิจที่ดาวเสาร์ ยานไพโอเนียร์ 11 ก็มุ่งหน้าสำรวจส่วนนอกของสุริยจักรวาล เหมือนพี่สาว



เมื่อเดือนกันยายน 2538 ยานไพโอเนียร์ 11 บินไปไกลจากโลกถึง 6,500 ล้านกม.แล้ว

สัญญานวิทยุที่ติดต่อกันต้องใช้เวลาเดินทางเที่ยวละ 6 ชั่วโมง

ยานไพโอเนียร์ 11 ยุติภารกิจในการสำรวจเมื่อ 30 กันยายน 2538 ก่อนพี่สาว

และขาดการติดต่อกับโลกก่อนพี่สาวด้วย

มันมุ่งหน้าสู่จักรวาลอันไกลโพ้นเช่นเดียวกัน



ขณะนี้ สองสาวพี่น้อง ยานไพโอเนียร์ 10 และไพโอเนียร์ 11 กำลังเดินทางอย่างเดียวดาย(ไปคนละทางกัน) ฝ่าความมืดมิดของจักรวาล

อยู่ห่างจากโลกมากกว่ายานอวกาศใดๆ สู่ภารกิจสุดท้ายคือส่งสารจากมนุษย์สู่อีทีในดินแดนอันไกลโพ้น

ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าอีกกี่วัน กี่ปี หรือกี่หมื่นปีที่จะมีใครผ่านมาพบ และอ่านสารที่เราส่งไป



เพราะหากไม่มีใครมาพบมันระหว่างทาง

มันก็จะใช้เวลาอีกประมาณสองล้านปีในการเดินทางไปยังจักรวาลที่อยู่ใกล้สุริยจักรวาลที่เราอยู่ที่สุด



หลังจากพี่น้องสองสาวตระกูลไพโอเนียร์ ยานวอเยเจอร์ 1 และ 2 ก็ถูกส่งเป็นสารไปยังอีทีเหมือนกัน แต่ส่งไปในทิศตรงกันข้ามกับยานไพโอเนียร์









ที่มา :

____________________

เครดิต :

________________________________
Share this post :

แสดงความคิดเห็น

 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2011. siamzaa ข่าวบันเทิง - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger