Headlines News :
Home » » มนุษย์ สมาธิ และพลังงาน

มนุษย์ สมาธิ และพลังงาน

Written By Unknown on วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554 | 23:03



การเกิด และการพัฒนาจิตของมนุษย์

การควบแน่นของพลังงานที่มีอยู่ทั่วไปในจักรวาล ทำให้เกิดธาตุรู้เล็กๆ กระพริบขึ้นในอณูแห่งพลังงานนั้นๆ รวมตัวกันใหญ่ขึ้นเรียกว่า จิต

เมื่อธาตุรู้มีมวลมากขึ้น ต้องการที่อยู่ จึงเกิดการรวมเข้ากับธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ที่สมดุล 
ทำให้บังเกิดความมีชีวิตของสรรพชีวิตทั้งหลายขึ้น การรวมกันของจิตและธาตุทั้ง 4 ที่มีความสมดุล 


การเกิดขึ้นของสิ่งที่มีชีวิตมีองค์ประกอบ 2 ประการคือ 
1. มีจิต 
2. มีมวลที่ธาตุดิน น้ำ ลม และไฟที่สมดุล 
และมีการกำหนดสัญชาตญาณแห่งการมีชีวิตตามธรรมชาติ ด้วยการดำรงเผ่าพันธุ์ ส่วนกรรมที่สร้างขึ้นชักนำให้เกิดภพชาติ เป็นพันเป็นหมื่นภพ 


กรรมเป็นตัวบ่งบอกถึงความเป็นไปของภพชาติ สัญชาตญาณของมนุษย์ทำให้เกิดอวิชชา ตัณหา และอุปาทาน คือ การยึดมั่นถือมั่น ความเป็นตัวตนในแต่ละภพชาติเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง 


เว้นแต่มนุษย์ที่มีปัญญาด้วยจิตที่มีสติ จึงสามารถสร้างเส้นทางของกรรมให้มีแนวทางใหม่ เพื่อลดกรรมที่อยู่บนเส้นทางเดิม ที่ลิขิตตนเองจากกรรมในภพก่อนๆ นั้นของมนุษย์ มนุษย์ผู้ไม่มีปัญญาจะไม่สามารถสร้างเส้นทางของกรรมใหม่ได้เลย มีแต่อารมณ์และสมองพิจารณาความเป็นตัวตนอยู่เช่นนั้น จึงทำให้กรรมเดิมทวีความรุนแรงขึ้นตามภพชาติแห่งตน เปรียบเสมือนกรรมในภพก่อนๆ นั้น ได้ขุดสร้างคลองแห่งกิเลสให้มนุษย์ในภพนี้ ดำเนินชีวิตไปเพื่อการชดใช้กรรม หรือการเดินทางร่วมของจิตทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกัน มนุษย์ผู้มีปัญญาพิจารณากิเลสทั้งหลาย เพื่อความสว่างของจิตที่มีสติอยู่อย่างต่อเนื่องแล้ว จึงเสมือนขุดคลองเส้นใหม่ ให้ดำเนินไปตามกรรมและชีวิตแห่งตน เพื่อการลดละกรรมทั้งหลาย ดังนั้นคลองเส้นใหม่เป็นเส้นทางที่ดีกว่าคลองเส้นเดิม









การหมุนเวียนของจิตในวัฏสงสารนั้น มนุษย์สามารถมองเห็นความเป็นจริงของตนด้วยความเป็นมนุษย์เท่านั้น มนุษย์ยังไม่สามารถเข้าใจว่า แต่ละภพชาติ มีการเปลี่ยนแปลงธาตุทั้งสี่ที่ประกอบขึ้นเป็นกายหยาบนั้น ไม่แน่นอนแม้แต่สักภพชาติเดียว มนุษย์ผู้เกิดมาเป็นพัน เป็นหมื่นภพ แล้วจะเลือกได้อย่างไรว่า ตนมีชื่อใด ตนมีสถานะเป็นใคร และตนนั้นมีความสัมพันธ์กับใคร ความจริงข้อนี้ก็คือ ความไม่แน่นอนทั้งปวงแห่งกายหยาบมนุษย์นั่นเอง เปรียบเสมือนดั่งการสวมเสื้อผ้าของมนุษย์ มนุษย์เกิดมาเสมือนสวมเสื้อผ้าชุดใหม่ไม่นาน เสื้อผ้านั้นก็เก่า กายหยาบก็เช่นกัน เมื่อกายหยาบคือ ร่างกาย เสื่อมลงก็ต้องละทิ้งสังขารไปหากายหยาบใหม่ ก็เหมือนการเปลี่ยนเสื้อผ้าแต่ละครั้งนั่นเอง ระยะเวลาแต่ละภพของมนุษย์เสมือนดั่งละครหนึ่งเรื่อง เริ่มเปิดฉากขึ้น ต่างก็แสดงบทบาทไปตามที่ตัวละครตัวนั้นๆ ต้องเล่นไป จนปิดฉากลง นั่นคือ การจากโลกนี้ไปในแต่ละครั้ง เมื่อเริ่มต้นภพใหม ่ก็ต้องเปลี่ยนเรื่องใหม่ แสดงเป็นตัวละครตัวอื่นใหม่ต่อไป ไม่สามารถเชื่อได้ยึดได้ว่า ตัวเราเป็นตัวละครตัวนั้นตลอดไปทุกภพทุกชาติ









จิตมนุษย์เป็นสิ่งที่สามารถรวมกันเป็นหนึ่ง เพราะเป็นพลังงานละเอียด คือ การมีธาตุรู้ที่กระพริบให้เกิดสภาวะที่เรียกว่า สติ สติเป็นตัวที่ทำให้เห็นความเป็นจริงแห่งธรรมชาติ โดยแท้ด้วยปัญญา เมื่อพิจารณาได้ครบถ้วนแล้ว จะพบความเป็น "อนิจจัง" (ความไม่เที่ยง) 


ในขณะที่มนุษย์ทั้งหลาย ผู้ใช้สมองประมวลผลกลั่นกรอง พิจารณาภายใต้การควบคุมของสัญชาตญาณ ที่เป็นจิตสำนึก ทำให้เกิดสภาวะที่เรียกว่า อารมณ์ จึงไม่พบความจริงแท้ในธรรมชาติ 


มีแต่สภาวะที่ยึดมั่นถือมั่นในตน ในทรัพย์ในสถานะทางสังคมแห่งตน ทำให้พบแต่รากเหง้าของอวิชชา ตัณหา และอุปาทานเท่านั้น ที่เป็นมูลเหตุแห่งกิเลสทั้งหลาย โดยมนุษย์ใช้ความรู้เดิม ที่เป็นสภาวะมนุษย์จากสัญชาตญาณที่ไม่จริงตามธรรมชาติจากสมอง โดยจิตสำนึกเป็นเครื่องตัดสิน เพื่อยังประโยชน์แก่ตนในการเอาชีวิตรอด ในการรักษาทรัพย์ที่เชื่อว่าเป็นของตน และสถานะทางสังคมที่ดำรงอยู่เชื่อว่าเป็นของตน จึงพบแต่สภาวะที่เรียกว่า “อัตตา” 


มนุษย์รับข้อมูลด้วยอายตนะ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ทั้งหก ซึ่งมีขีดจำกัดในการรับรู้คือ รับส่งข่าวสารได้เพียงของหยาบเท่านั้น เมื่อทำงานเชื่อมส่งข้อมูลไปเก็บที่สมอง โดยมีสัญชาตญาณเป็นตัวควบคุมความเป็นมนุษย์นั้นอยู่ มนุษย์จึงไม่สามารถบรรลุถึงความเป็นจริงแห่งธรรมชาติได้ ซึ่งในขณะนั้น มนุษย์เพียงแต่ถูกสัญชาตญาณกำหนดให้พาตนไปให้มีชีวิตรอด รักษาทรัพย์แห่งตน และสถานะทางสังคมของมนุษย์ ด้วยความเชื่อแห่งความยึดมั่นถือมั่น มนุษย์สรุปส่งข้อมูลเหล่านี้ไปเก็บที่สมองเราเรียกว่า ความรู้เดิม และเมื่อรับรู้สัมผัสจากอายตนะครั้งต่อไป ก็ใช้ความรู้ที่เก็บในสมองนี้พิจารณาตัดสินทุกครั้งไป สุดท้ายความรู้เดิมแห่งความเป็นอัตตาเกาะยึดแน่นเพิ่มพูนทวี ให้จิตนั้นตกอยู่ในความมืดลงทุกขณะจิต



มนุษย์ยึดติดกับกฎเกณฑ์ที่ตนเองสร้างขึ้น 


ไปพิพากษาผู้อื่นโดยไม่มีมาตรฐานเดียวกัน เช่น มนุษย์ผู้หนึ่งถือศีลตั้ง 227 ข้อ ในมือถือภาชนะใส่อาหาร มีจิตใจเบิกบานสว่าง ได้ให้โอกาสแก่มนุษย์ผู้อื่น ด้วยการเดินไปโปรดสัตว์ให้ได้สร้างกุศลแห่งการให้ทั้งปวง มนุษย์ผู้นี้ เดินเหยียบย่ำสัตว์ขนาดเล็กเสียชีวิตจำนวนมากทุกๆ วันที่ออกไปโปรดสัตว์ ปฏิบัติเช่นนี้จนสิ้นอายุขัย ผลแห่งกุศลจิตนำไปเกิดเป็นเทวดาชั้นสูง


 ฉะนั้นการทำปาณาติบาตทุกวัน เหตุใดจึงไม่มีบาปไปตัดทอนการเป็นเทวดาชั้นสูง เหตุผลก็คือ เนื่องจากไม่มีเจตนาแม้แต่น้อย ที่จะหมายปองชีวิตของสัตว์ขนาดเล็กเหล่านั้น ดังนั้นจิตจึงไม่เกิดการรับรู้ต่อการกระทำนั้น และการได้เป็นผู้ให้ทำให้จิตมีความสว่างและเบิกบานเป็นการขยายจิตให้ใหญ่ขึ้น (การปฏิบัติเช่นนี้ เป็นการพัฒนาจิตให้ยกระดับขึ้น ขนาดของจิตใหญ่ขึ้น เนื้อจิตละเอียดขึ้น สว่างขึ้น มีอานุภาพมากขึ้น มนุษย์เรียกว่า “จิตวิวัฒน์” 


แต่ในความเป็นมนุษย์ทั้งหลายที่ยึดมั่นถือมั่น จึงใช้วิธีเข้าสมาธิสร้างจิตให้ใหญ่ ใช้อวิชชาจากความรู้เดิมที่สมองประมวลไว้ ยกตนให้มีจิตใหญ่เหนือมนุษย์อื่นด้วยฤทธิ์ อาคม มีความรู้ที่หลงผิดนึกเอาเองว่า จิตตนเองใหญ่ ดังนี้เป็นความเข้าใจที่ไม่จริงตามธรรมชาติ ความไม่เห็นจริงตามธรรมชาติ จึงเห็นได้ชัดเจนว่า มนุษย์ตั้งกฎเกณฑ์ของตนเพื่อความประสงค์ในความเป็นอยู่แห่งมนุษย์เท่านั้น ไม่ใช่เกิดจากความเห็นจริงตามธรรมชาติเช่นนั้นแล้ว สังเกตได้จากมนุษย์ตั้งกฎเกณฑ์ใดก็ตาม จะมีข้อยกเว้นเสมอ เพราะไม่เป็นสัจจะธรรมไม่อยู่บนพื้นฐานแห่งข้อเท็จจริง สรุปว่ากฎเกณฑ์ของมนุษย์วัดอะไรไม่ได้เลย แต่การวัดที่เห็นจริงตามธรรมชาติ เกิดได้แต่จิต เรียกว่า เจตนา การเกิดกรรมที่สมบูรณ์จะต้องมีองค์



ประกอบที่ครบถ้วน คือ
  • คิดไตร่ตรองและมีความตั้งใจที่จะกระทำกริยานั้นๆ

  • วางแผนที่จะกระทำตามที่คิดและตั้งใจไว้

  • ลงมือกระทำให้บรรลุตามแผนการที่ตั้งใจไว้

  • การกระทำนั้นเป็นผลสำเร็จตามที่ไตร่ตรองไว้







กรรมะที่สมบูรณ์เป็นกรรมที่มีทั้งโจทก์และจำเลย เป็นกรรมที่ต้องโทษด้วยบาปในการกระทำ นอกจากบาปที่จะได้รับจากการที่เจ้ากรรมนายเวรทวงถามแล้ว ยังต้องบาปเสมอเหมือนด้วยมนุษย์ต้องคดีอาญาด้วยอีก เป็นเช่นนี้แล้ว สิ่งใดที่เป็นเครื่องส่องทางสว่างสำหรับมนุษย์ เพื่อการหลุดพ้นจากสัญชาตญาณเข้าสู่โมกษะ ในที่นี้จะกล่าวถึงอุปกรณ์เหล่านี้แบบย่อก่อนพอสังเขป สามารถค้นหาความละเอียดได้ในบริบทที่ว่าด้วยสมาธิ



สมาธิ ฌาน สติ ญาณ ปัญญา สามารถใช้เป็นอุปกรณ์สร้างเส้นทางสู่โมกษะ คือ การหลุดพ้น หรืออมตะในศาสนาทั้งหลายได้



สมาธิ คือ สภาวะของจิตที่มีความตั้งมั่นเป็นหนึ่งพิจารณาสิ่งเดียวเท่านั้น มีระดับของความสงบนิ่งต่างๆกันไปตามสภาวะของจิตนั้น



ฌาน คือ สภาวะอารมณ์ของสมาธิ ที่มีความต่อเนื่อง แต่เพื่อความเข้าใจถึงการทำงานของฌาน จึงแบ่งฌาน



ออกเป็นระดับต่างๆ ประมาณ 5 ระดับ
  1. สมาธิเบื้องต้นเพ่งอยู่กับสิ่งเดียวมีระยะสั้นยาวต่างกัน

  2. สมาธิขั้นกลางเริ่มอยู่กับจิตมีความนิ่งไม่สนใจภายนอกแม้แต่กายหยาบของตน

  3. เริ่มแสดงอาการของสมาธิในรูปที่มีปิติมีอาการต่างๆ เช่นน้ำตาไหล ขนลุก มีนิมิต

  4. เป็นสมาธิขั้นสูง ปิติจางหายไปรู้สึกได้ถึงความสงบเป็นสุข

  5. ถึงสภาวะเอกัคตาคือทิ้งทั้งหมดเหลือจิตนิ่งอย่างเดียวไม่มีปิติไม่มีสุขไม่มีอารมณ์ สภาวะนี้เทียบเคียงกับสภาวะพรหมันสมบูรณ์แบบแต่ไม่สามารถทำงานได้ หากต้องทำงานให้ย้อนไประดับที่สี่ เมื่อเทียบกับพรหมันในขั้นนี้พลังงานจิตก็เพิ่มขึ้นได้ถึงสิบสองเท่าเช่นกัน







การอยู่ในสภาวะอารมณ์ฌาน 1 ถึง 4 นั้นจะเป็นพิจารณาความนิ่งเพื่อตัดกิเลสให้เสื่อมถอยไป เมื่อการเข้าสมาธิจากฌาน 1 ถึง 4 อีกซ้ำๆ จะสามารถตัดเอากิเลสที่อยู่ลึกลงไปเรื่อยๆ ให้หมดสิ้นไปในที่สุดและเข้าสู่สุญฺญตาต่อไป



สติ คือ ตัวรู้แห่งจิต ทำให้เกิดปัญญาแห่งการหลุดพ้น

ญาณ คือ ปัญญาที่เกิดจากการเพ่งดูความจริงโดยตัวรู้แห่งจิต เป็นสิ่งที่ใช้ระงับอวิชชา ตัณหา และอุปาทาน ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดกิเลส ดังนั้นญาณจึงเป็นตัวตัดกิเลสนั่นเอง











ที่มา : http://www.universal-signal.com/html/human&energy/human_mind_trianing.htm

____________________

เครดิต :

________________________________

Share this post :

แสดงความคิดเห็น

 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2011. siamzaa ข่าวบันเทิง - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger