Headlines News :
Home » » เมฆประหลาดลายพลิ้ว เหนือเมืองเบอร์มิ่งแฮม

เมฆประหลาดลายพลิ้ว เหนือเมืองเบอร์มิ่งแฮม

Written By Unknown on วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554 | 18:55



ภาพก้อนเมฆหลายก้อนก่อตัวเป็นคลื่นบนท้องฟ้า เหนือเมืองเบอร์มิ่งแฮม รัฐแอละแบมา สหรัฐอเมริกา เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา(16 ธ.ค.) สร้างความประหลาดใจให้แก่ผู้พบเห็นอย่างมาก

ทั้งนี้เมฆลักษณะแบบนี้เรียกว่า เมฆคลื่นเคลวิน-เฮลม์โฮลตซ์ หรือเมฆลายพลิ้ว เป็นเมฆที่ม้วนตัวเป็นรูปคลื่น ซึ่งจะเกิดเมื่อมีลมที่พัดสวนกันที่ระดับต่างกัน เมฆด้านล่างจะถูกดึงไว้ ทำให้เมฆด้านบนเคลื่อนที่ไปเร็วกว่า จึงเกิดการม้วนตัวคล้ายลักษณะคลื่นกระทบฝั่ง













เกร็ดความรู้

ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เมฆคลื่นหัวแตก (wave clouds)







เมื่อเห็นเมฆนี้ต้องยอมรับว่ามันช่างเหมือนกับเกลียวคลื่นในทะเลที่กำลังม้วนตัวเป็นระลอกๆ เหมือนดั่งภาพนี้มีทะเลอยู่ของชั้น ดูแล้วช่างเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่งดงามยิ่ง




เมฆ ชนิดนี้เป็นที่รู้จักในหลากหลายชื่อดังนี้ เมฆคลื่น(billow cloud), 
เมฆแรงโน้มถ่วงเฉือน(shear-gravity clouds), 
และเมฆเคลวิน-เฮลม์โฮลตซ์(Kelvin-Helmholtz หรือเรียกย่อๆว่า เมฆKHI 
ซึ่งตั้งเป็นเกียรติต่อท่านลอร์ด Kelvin และ Hermann von Helmholtz)


เมฆนี้ลักษณะคล้ายเกลียวคลื่น และมันยังเป็นตัวชี้วัดถึงสภาพความปั่นป่วนในชั้นบรรยากาศำหรับอากาศยานต์ได้เป็นอย่างดีหากพบเห็นพวกมัน หมายความว่าอากาศปั่นป่วน



สาเหตุของการเกิดเมฆคลื่นหัวแตกนี้เกิดจาก ความเร็วในการเคลื่อนตัวของชั้นอากาศ 2 ชั้น
(หรือมากกว่า2ชั้น)ที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน โดยอากาศชั้นบนเคลื่อนที่เร็วสูงกว่าชั้นล่าง
เมื่ออากาศด้านบนเคลื่นที่ด้วยความเร็วสูงกว่าชั้นล่างจะก่อให้เกิดแรงดันอากาศที่แตกต่างกัน
โดย กล่าวคืออากาศที่เคลื่อนที่เร็วกว่าจะมีความดันต่ำกว่า ทำให้อากาศด้านล่างจะมีแรงดันสูงจะยกตัวขึ้น ส่วนอากาศด้านบนที่เคลื่อนตัวด้วยความเร็วสูงจะมีแรงดันต่ำก็จะกดตัวลง ทำให้เกิดความปั่นป่วนในเมฆทำให้เมฆม้วนตัวดังภาพด้านล่าง


เมฆคลื่นหัวแตกนี้มักจะพบได้ในวันที่มีลมแรง ในสถานที่มีความหนาแน่นของอากาศที่แตกต่างกันอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุญหภูมิ



เมื่ออากาศแต่ละชั้นเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน เมื่อชั้นบนเคลื่อนที่เร็วจะเกิดความดันต่ำกว่าบรรยากาศชั้นล่าง เมื่อความดันไม่สมดุลย์กันอากาศความดันสูงจะยกตัวขึ้นส่วนที่ความดันต่ำจะกดตัวลง ก่อนให้เกิดการม้วนตัวดังภาพ





ที่มา :

http://news.mthai.com/world-news/146356.html

http://wowboom.blogspot.com/2011/12/wave-clouds.html

____________________

เครดิต :

________________________________

Share this post :

แสดงความคิดเห็น

 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2011. siamzaa ข่าวบันเทิง - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger